สถาปนิกจิตอาสาสร้างห้องเรียน ‘ทรานส์ฟอร์เมอร์ส’ ให้เด็กๆ ในเปรู

8

เพราะความต้องการของมนุษย์นั้นมีหลากหลาย การจะสนองความต้องการให้ครบทุกด้านจึงจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมากเพื่อลดการใช้ทรัพยากรลง อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติ ‘เอนกประโยชน์’ จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อสนองความต้องการในหลายๆ ด้านโดยใช้เครื่องมือเพียงชิ้นเดียว คุณลักษณะดังกล่าวนี้ได้ถูกถ่ายทอดลงในสิ่งประดิษฐ์หลายต่อหลายชิ้น รวมทั้งสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ซึ่งข้อดีของสถาปัตยกรรมประเภทอเนกประโยชน์นี้คือ สามารถสนองความต้องการและรองรับภารกิจได้หลายอย่างโดยใช้พื้นที่และทรัพยากรจำกัด ซึ่งเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับท้องที่ที่ขาดแคลนทรัพยากร ดังเช่นในท้องที่ Mazaronkiari ในประเทศเปรู

Mazaronkiari นั้นตั้งอยู่ในป่าทึบบริเวณตอนกลางของประเทศเปรู ในปี ค.ศ.2013 สถาปนิก 2 คน Marta Maccaglia และ Paulo Afonso ได้มาเยือนยังท้องที่นี้ พร้อมทั้งได้พูดคุยกับผู้นำชุมชนและครู ของชนเผ่าพื้นเมืองซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ทำให้ทราบถึงความต้องการของคนในชุมชน เขาทั้งคู่จึงมีแนวคิดที่จะสร้างโรงอาหารสำหรับโรงเรียนอนุบาลให้กับชุมชนแห่งนี้ แต่ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น เขาทั้งคู่จึงได้ใส่ลูกเล่นในการออกแบบเพื่อให้อาคารแห่งนี้สามารถรองรับภารกิจได้อย่างหลากหลาย ด้วยการสร้างให้อาคารแห่งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่าง (Transform) ของตัวเองได้เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ภายในห้องทรงสี่เหลี่ยมแบ่งพื้นที่ออกเป็นหลายส่วนทั้งครัวและพื้นที่ซักล้าง บริเวณด้านหลังห้อง ด้านหน้าซึ่งมีขนาดกว้าง ถูกจัดให้เป็นโถงเอนกประสงค์ ซึ่งความพิเศษของอาคารแห่งนี้อยู่ที่เฟอร์นิเจอร์ซึ่งเป็นโต๊ะติดผนังที่ถูกออกแบบให้สามารถพับเก็บได้ เพื่อให้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งประชุม สัมมนา จัดงานรื่นเริง และสามารถพับลงมาเพื่อใช้เป็นโต๊ะเมื่อต้องการปรับเปลี่ยนเป็นห้องเรียนและโรงอาหาร ทำให้อาคารหลังนี้สามารถรองรับภารกิจการใช้งานได้อย่างหลากหลาย โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการออกแบบอย่างแยบยล

1

2

3

4

5

6

7

8

อ้างอิง : archdaily