Slow Food Pavilion สะท้อนการบริโภคและการผลิตแบบยั่งยืนครบวงจร

12

กระแสฮิปสเตอร์ในบ้านเราเริ่มจืดจางลงไปบ้างแล้ว ภาพลักษณ์ที่เราจดจำกับกลุ่มชนนี้คือไม่แยแสต่อทุนนิยมที่มีความรีบเร่ง ฮิปสเตอร์จึงนำเสนอสิ่งที่ขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของทุนนิยมด้วยการเสพความช้า ทั้งช้าแบบ Slow Life ความเนิบนาบนี้รวมไปถึงการเลือกกินอาหารที่มีคุณภาพด้วยเช่นกันแบบ Slow Food

หากเชื่อในเรื่องกระบวนการที่ดีมากกว่ารอดูผลลัพธ์ให้ลองมาดูงานใหม่ของสำนักงานสถาปนิกนักคิด Herzog & de Meuron Basel Ltd. ที่นำเสนอ ’ศาลา Slow Food‘ ในงานเอ็กซ์โปที่มิลาน 2015 ที่นำเสนอถึงความการเข้าใจถึงความสำคัญของอาหารที่มีกระบวนการผลิตแบบยั่งยืน สถาปนิกเริ่มต้นการออกแบบด้วยการตีความแนวคิดของเจ้าพ่อ Slow Food นามว่า Carlo Petrini ที่ต่อต้านการครอบครองอาหารของเชนใหญ่ที่ผลิตอาหารทำลายสุขภาพ ตัวศาลาถูกออกแบบให้คล้ายกระท่อม 3 หลัง วางตัวอาคารเป็น 3 เหลี่ยมแล้วเว้นที่ว่างตรงกลางให้กลายเป็นคอร์ตที่คล้ายตลาดกลางแจ้งแบบดั้งเดิม เนื้อหาภายในอาคารทั้ง 3 หลังบรรจุไปด้วยเรื่องราวความหลากหลายของอาหารและเกษตรกรรมที่เป็นการบริโภคแบบใหม่ให้ยั่งยืน มีเนื้อหาการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและผลที่ตามมาจากการบริโภคกับโลกของเรา ในศาลานี้สามารถเสพข้อมูลต่างๆ ไปพร้อมกับถกเถียงกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับทัศนคติในการบริโภคผลผลิตของเกษตรกรรมแบบยั่งยืน อาหารพื้นเมืองเพื่อเสริมสร้างทัศนคติไปพร้อมกับการรับรู้กลิ่น รส ความรุ่มรวยในความหลากหลายของอาหารไปพร้อมกัน

จวบจนเมื่อจบงานเอ็กซ์โปนี้แล้ว ศาลา Slow Food สามารถย้ายไปยังสนามในโรงเรียนต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอาหารที่มาจากเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เรียกได้ว่างานนี้ยั่งยืนตั้งแต่เนื้อหาของนิทรรศการจนสถาปัตยกรรมกันเลยทีเดียว

17514494679_64ecff05eb_o17705531736_be56f65365_o 17729708585_aca8c3a165_o portada_17700775475_d7ebd34a0a_b

446_DR_1503_006_Padiglioni

446_COMP_DR_1503_M2

446_COMP_DR_1503_M

อ้างอิง: archdaily, Herzog & de Meuron