Transitional Shelter: กลุ่มนักเรียนหัวใหม่ช่วยเฮติด้วยบ้านเฉพาะกิจ

สองสามปีที่ผ่านมานั้น มีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้งบนโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นที่ที่ประสบอยู่บ่อยครั้งหรือที่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ส่งผลเสียให้ต่อประเทศและผู้คนมากมาย หนึ่งในเหตุการณ์ที่ทั่วโลกต้องจดจำนั่นก็คือ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเฮติ เมื่อปีพ.ศ. 2553 ทำให้อาคารบ้านเรือนพังพินาศเป็นจำนวนมาก หลังจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวนี้ ทำให้ประชาชนขาดแคลนที่พักอาศัยเป็นจำนวนมาก

กลุ่ม Design|Build studio ของ Maryland Institute College of Art (MICA) ได้เล็งเห็นความสำคัญของที่พักชั่วคราวที่ดีกว่าเต็นท์ผ้าใบสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินทั่วไป นอกเหนือจากการออกแบบพื้นฐานทั่วไปแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเสมอในการออกแบบนั่นก็คือ สภาพแวดล้อมโดยรวมทั้งหมดที่มีความสัมพันธ์ต่อผู้ใช้ ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ดังนั้งการเริ่มต้นของงานการออกแบบบ้านพักอาศัยชั่วคราวนี้ จะมุ่งเน้นไปถึงเรื่องการใช้สอยของคนในท้องที่ วัฒนธรรม และความคุ้นเคยของผู้คน ทีมออกแบบจึงได้เข้าไปคุยกับผู้ประสบภัยโดยตรง

โดยพื้นฐานของบ้านพักอาศัยชั่วคราวที่มีไว้สำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัย จะต้องมีนำ้หนักที่เบา ขนส่งง่าย และสามารถประกอบด้วยความรวดเร็ว นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มออกแบบนี้ได้ทำการวิเคราะห์วัสดุท้องถิ่น และเลือกกิ่งไผ่อ่อนนำมาสานเป็นผนังชั้นนอก นอกจากจะช่วยควบคุมแสงเข้าไปภายในและเป็นที่บังสายตาจากคนภายนอกแล้ว ยังช่วยระบายอากาศ และช่วยลดต้นทุนบางส่วนของการผลิตได้อีกด้วย

นอกจากได้ที่พักชั่วคราวที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแล้ว ผู้ประสบภัยยังได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตัวของพวกเขาเอง ด้วยวัสดุที่พวกเขาคุ้นเคยอีกด้วย

อ้างอิง : archdaily