‘FOUND’ เมื่อภูมิปัญญาและปรัชญาออกแบบหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว

Untitled-2

 

เราอยากให้ลักษณะของความเป็นไทยไม่ต้องแสดงออกแบบตรงไปตรงมา แต่แทรกคุณค่าและวิถีไทยไปในแก่นของการสร้างสรรค์ โดยมีนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาประกอบ คำอธิบายสั้นๆ ที่ทีมออกแบบจาก Trimode เล่าให้เราฟังถึงโครงการออกแบบล่าสุดของพวกเขาอย่าง FOUND by Trimode ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ ชินภานุ อภิชาติธนบดี ภิรดา-ภารดี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา มีโอกาสลงพื้นที่เพื่อร่วมพัฒนาสินค้าชุมชนในโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น T-style ISAAN Objects โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทยนวัตศิลป์สำหรับ SACICT Craft Trend และ Global Ethnics โดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ

อย่างที่เกริ่นกันไปแล้ว ความน่าสนใจของ FOUND ที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือการนำเอาจุดเด่นและเอกลักษณ์ในแต่ละที่มาพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน โดยไม่ได้ยัดเยียดความสมัยใหม่ให้กับชาวบ้าน ในทางตรงกันข้าม กลับนำสิ่งที่พวกเขามี นั่นคือเครื่องมือทางการออกแบบมาผสมผสานให้เข้ากับความรู้ดั้งเดิมที่ตกทอดมาแต่อดีต ซึ่งนับเป็นการหลอมรวมที่ลงตัวไม่น้อยทีเดียว ผลลัพธ์ที่ได้คือความใหม่ที่ยังมีกลิ่นของท้องถิ่นและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของทั้ง 5 ชุมชน อย่าง ชาวม้งดอยปุย, กลุ่มเขาควาย นครราชสีมา, กลุ่มผ้าไหมปักธงชัยเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน และผ้าย้อมสีธรรมชาติ หนองบัวแดง

หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับชาวม้งดอยปุย โดยหยิบเอาของใช้ในชีวิตประจำวันอย่างหมวกที่ใช้ได้ง่ายมาเป็นตัวตั้งต้น โดยพวกเขาลองนำเอาแพทเทิร์นหมวก วิธีเย็บ และผ้าที่เป็นวัสดุใหม่ๆ เข้าไปพัฒนาร่วมกับสินค้าท้องถิ่นอย่างผ้าเขียนเทียน จากนั้นจึงทดลองปรับและประยุกต์ลวดลายดั้งเดิมด้วยการจัดองค์ประกอบเสียใหม่ ใช้คู่สีด้ายที่แตกออกไปจากเดิม และแมทสีด้ายให้เข้ากับสีผ้ามากยิ่งขึ้น จนเกิดหมวกที่เป็นการนำเอาวัสดุสนุกๆ แบบชาวม้งมาใช้กับโทนสีกลางๆ ที่ไม่ฉูดฉาดแบบเดิม ทำให้ผู้ใช้สามารถสวมใส่ง่ายขึ้นและเข้ากับกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน

อีกหนึ่งชุมชนที่น่าสนใจคือการทำงานร่วมกับกลุ่มเขาควาย นครราชสีมา ที่ Trimode เริ่มต้นโปรเจ็กต์ด้วยคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์จากเขาควายนี้มีความแตกต่าง ขณะเดียวกันก็ยังสามารถคงสัจจะวัสดุไว้ให้มากที่สุดทั้งสามและชาวบ้านจึงชูความงามตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ของพื้นผิวเขาควายให้เด่นขึ้น โดยถ่ายทอดผ่านผลงานเครื่องประดับที่มีความคลาสสิกและสวมใส่ง่ายอย่างกำไลข้อมือ โดยเริ่มจากการนำเขามาดัดให้เป็นวงกลม ใช้เทคนิคการเคลือบโลหะลงบนเขาควายโดยการทำ electro forming ซึ่งจะได้ผิวโลหะที่มีความวาว มีพื้นผิวตามธรรมชาติ และมีน้ำหนักเบา ดูทันสมัย แต่ยังคงเอกลักษณ์กลุ่มที่มีเขาควายเป็นต้นทุนทางวัสดุ

ความพยายามที่จะพัฒนาสินค้าจากวิถีหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นโครงการนี้คงจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากต่างฝ่ายต่างตั้งกำแพงต่อกัน แม้ว่าการลงพื้นที่จะไม่สำเร็จในครั้งแรก หรือความแตกต่างทางความคิด มุมมอง และการทำงานจะเป็นอุปสรรคคำโตระหว่างทาง แต่ทุกอย่างจะสำเร็จได้ล้วนต้องใช้เวลาเสมอ สิ่งที่น่ายินดีที่เราเห็นได้จาก FOUND by Trimode ก็คือเมื่อต่างฝ่ายต่างยอมรับและเคารพในวิถีทางของกันและกัน แล้วการหันกลับมามองสิ่งที่มีเพื่อต่อยอดและพัฒนาไปบนวิถีของการร่วมแรงร่วมใจแล้ว ผลลัพธ์เชิงบวกก็เกิดขึ้นได้อย่างไม่ยาก จนถึงตอนนี้ Trimode ยังคงตั้งหน้าตั้งตา ค้นหาเพื่อ พบและต่อยอดคุณค่าทางวัฒนธรรมไทยกันต่อไป  

Print

Print

Print

Print

Print

Print

Screen shot 2015-03-05 at 3.35.44 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.35.55 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.36.19 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.36.29 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.36.45 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.37.01 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.37.15 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.37.23 PM Screen shot 2015-03-05 at 3.37.44 PM

อ้างอิง: Trimode Studio