แปลงขยะเป็นศิลปะและของเล่น ชายหาดสะอาด+ชาวบ้านมีรายได้

วันนี้ขอบมหาสมุทรอินเดีย ประเทศเคนย่า มีชายหาดที่สวยสะอาด และชาวบ้านที่สุขมากกว่าเดิม ภายใต้แนวคิดบริหารชุมชนที่ลงตัว คือการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพชุมชนด้วยความคิดสร้างสรรค์แบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Ocean Sole flip-flop Recycling มูลนิธิเพื่อชุมชนสร้างสรรค์วัสดุเหลือใช้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของชายหาดแถบมหาสมุทรอินเดีย เมืองไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนย่า นำวัสดุยางฟองน้ำจากรองเท้าที่ทิ้งแล้วกลับมาหมุนเวียนได้ ‘400,000 กิโล ต่อปี‘ โดยยึดแนวทางง่ายๆ ที่มีแต่ได้กับได้ ภายใต้แนวคิด ‘Recycle, Innovate, Sustain, Educate’ หรือ ‘ให้ความรู้  สร้างสรรค์ หมุนเวียนวัสดุเหลือใช้เพื่อชุมชนและทรัพยากรที่ยั่งยืน’ โดยตั้งศูนย์อบรบวิชาชีพงานศิลปะสร้างสรรค์ แปลงขยะที่เป็นปัญหาหลักของการทำลายทรัพยากรชายหาดอันดับหนึ่งคือ รองเท้าฟองน้ำ ให้เป็นงานศิลปะท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ปฏิมากรรมขนาดยักษ์ หรือเครื่องประดับ ด้วยการฝึกสอนชาวบ้านท้องถิ่นยากจน กว่า 100 ชีวิต ได้เรียนรู้การแปลงร่างวัสดุเหลือใช้ เป็นรายได้กลับคืนให้ชุมชน พร้อมขจัดปัญหาขยะที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน

ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ชาวบ้าน…
“ก่อนที่ฉันจะมาทำงานที่นี่ ฉันแทบไม่มีเงินเลย ฉันต้องยืมเงินคนอื่นซื้อรองเท้าเพื่อใส่เดินทางมาทำงานที่นี่ หลังจากที่ฉันอยู่ที่นี่มา 6 ปีแล้ว ฉันสามารถส่งลูกๆ ไปโรงเรียน มีเงินซื้อเสื้อผ้าอาหารให้พวกเขาได้ และยังเหลือพอที่จะสร้างฟาร์มวัวเล็กๆ ขายนมให้เพื่อนบ้านได้อีกด้วย”

โดยผลงานของศิลปินชาวบ้านเคนย่าจะถูกจัดจำหน่ายไปยังทั่วโลก และนำรายได้กลับมาสู่ชุมชนอย่างเพียงพอ พร้อมความภาคภูมิใจของผู้ผลิต และพื้นที่ชายหาดที่สะอาดปราศจากขยะ และที่สำคัญไปกว่านั้น สินค้าแต่ละชิ้นที่จัดจำหน่ายไป ยังถูกใช้เป็นสื่อกระบอกเสียงของธรรมชาติ ที่บอกต่อและตั้งคำถามกับคนทั่วโลก ถึงการกลับมาตระหนักและดูแลสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นไปถึงจนถึงระดับโลก

โครงการ Flipflop Recycling เริ่มจากการสังเกตและใส่ใจสิ่งรอบๆ ตัวเรา โดยเริ่มจากคนเอง และพัฒนาความสามารถจนกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ใหญ่ขึ้น จากชุมชนเล็กๆ สู่สังคมอย่างน่ายินดี

[youtube url=”http://youtu.be/8Q-rl3M7N58″ width=”600″ height=”340″]

อ้างอิง: Ocean Sole, Design You Trust, MsnNews