คุณว่าดีไหม…ถ้ากระจกใสธรรมดาช่วยผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ?

8

คำถามประเภท What if…? นั้นเป็นก้าวแรกของนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ มนุษยชาติเราเป็นเผ่าพันธุ์เจ้าปัญหา พวกเราชอบตั้งคำถามบ้าๆ และหาคำตอบให้กับเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นปัญหารอบตัว ยกตัวอย่างล่าสุดกับปัญหาพลังงานในโลก เราทุกคนรู้ว่ามันถึงเวลาแล้วที่โลกทั้งใบจะต้องพัฒนาวิถีเข้าหาพลังงานสะอาด พลังงานที่เราจะใช้ได้ไม่มีวันหมด …และแน่นอนว่า ‘แสงอาทิตย์’ ก็คือหนึ่งในคำตอบนั้น

มนุษย์เจ้าปัญหาแถบซิลิคอนวัลเลย์ ในนามบริษัท Ubiquitous Energy ดูจะเป็นอีกหนึ่งก๊วนที่พยายามหาคำตอบด้วยการตั้งคำถามใหม่ๆ พวกเขาถามว่า “จะดีมั้ยถ้าเราสามารถชาร์จมือถือได้ในแสงแดด? หรือ “มันจะเป็นยังไงนะถ้าบ้านของเราสะสมพลังงานได้ผ่านกระจกหน้าต่าง?” คำถามพวกนี้ทำให้เราส่วนใหญ่พยักหน้าด้วยนัยน์ตามีความหวัง (ชัวร์สิ!) และวันนี้มันก็นำเรามาสู่คำตอบที่เรียกว่า ‘Translucent Solar Cells Technology’ หรือแผงโซล่าร์เซลล์แบบใสนั่นเอง “เวลาคุณมองดูตึกสูงๆ คุณจะเห็นว่าเมืองใหญ่ในโลกนั้นมีผิวสัมผัสที่เป็นกระจกในปริมาณมหาศาลแค่ไหน พวกเราก็แค่ทำให้กระจกเหล่านี้กลายเป็นตัวสะสมพลังงานจากแสงแดดระหว่างวัน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ริชาร์ด ลันท์ แห่งคณะวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท แนะนำไอเดียของเขาไว้เช่นนั้น “ทุกวันนี้พวกเราติดฟิล์มบนกระจกเพื่อป้องกันแสงอินฟราเรด ป้องกันความร้อน ลดการใช้พลังงาน ฯลฯ แต่จากนี้ไปเราจะประยุกต์วิธีการเดียวกันนี้ เพื่อสร้างพลังงานใหม่ๆ เก็บมาใช้ด้วย”

หลักการทำงานของกระจกพลังแสงอาทิตย์นี้ฟังดูไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน ศาสตราจารย์ลันท์เล่าว่าโมเลกุลในแผ่นฟิล์มจะค่อยๆ สะสมพลังงานและเรืองแสงขึ้นมาเอง แต่แสงอินฟราเรด (ที่เรืองขึ้น) นี้จะถูกผลักออกไปด้านข้างของแผ่นกระจกทันที เพื่อถูกแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ที่เลาะอยู่ตามขอบ  “ความฝันสูงสุดของพวกเราคือการสร้างแหล่งพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ที่สามารถจะสอดผสานอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนโดยที่พวกเขาไม่รู้สึกถึงมันด้วยซ้ำ”

ริชาร์ด ลันท์ ก่อตั้งบริษัท Ubiquitous Energy เพื่อจะทำให้ความฝันนี้เป็นจริงได้ในเชิงพาณิชย์ เขาประมาณการณ์ว่าชาวโลกน่าจะได้เห็นเวอร์ชั่นขายจริงของเทคโนโลยีสะอาดนี้กันในอีก 5 ปีข้างหน้า

[youtube url=”http://youtu.be/IZ__PjmC6Fg” width=”600″ height=”350″]

ue-home-photo_textctrtransparent-lsc1 transparent-ipad-solar-cells-537x35820141210-thin-film-pvipad-solar-2-537x358TechStage_-UbiquitousEnergy_PanelUbiquitous-Energy-Schematic1pic2_103

อ้างอิง : FastCompany, Ubiquitous Energy