Chipakata Children’s Academy: ออกแบบเพื่อนักเรียนและชุมชน

14

โรงเรียนที่ได้รับการออกแบบที่ดีจะเหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ มากกว่าการจะใช้รูปแบบสำเร็จตายตัวจากสูตรสำเร็จของอีกแห่ง การจะออกแบบให้ดีจึงต้องเข้าถึงจิตวิญญาณสถานที่ของแต่ละแห่งเสียก่อนลงมือวาดสักเส้นลงไปบนแบบร่าง

คำตอบของการออกแบบโรงเรียนที่เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการออกแบบ สามารถดูได้จากงานโรงเรียนประถมชิพาคาตา ในประเทศแซมเบีย กระบวนทัศน์ใหม่นี้ถูกแปลความจากสถาปนิก Susan Rodriguez + Frank Lupo + Randy Antonia Lott ด้วยโจทย์ที่ต้องการสร้างโรงเรียนในที่ห่างไกล สามารถลดการเดินทางซึ่งเป็นการเดินเท้าเป็นหลักรอบชุมชนชิพาคาตา โปรแกรมโรงเรียนนี้รองรับการศึกษาในระดับประถม 1-7 ส่วนที่น่าสนใจของงานนี้คือการออกแบบ จากที่ระบบห้องเรียนเดิมๆ จะออกแบบให้ติดกัน ลดเส้นรอบรูปอาคารมากที่สุด ห้องเรียนจะปิดเพื่อสร้างสมาธิให้กับการเรียนการสอน แต่กับโรงเรียนนี้สถาปนิกเลือกใช้วิธีกระจายอาคารให้ห้องเรียนทั้ง 4 แยกออกเป็น 3 ส่วน ก่อให้เกิดการระบายอากาศที่ดีมากกว่าแบบเดิมๆ และเพิ่มวิธีการระบายอากาศด้วยการใช้หลังคายกสูงไปพร้อมกับทำเป็นหลังคา 2 ชั้น โดยที่ชั้นบนสามารถขึ้นไปใช้งานได้พร้อมกับเป็นฉนวนอากาศ พื้นที่ส่วนกลางของโรงเรียนออกแบบให้เป็นหลังคา 3 เหลี่ยมรองรับกิจกรรมในชุมชนอย่างเอนกประสงค์ในวาระต่างๆ ช่วยให้โรงเรียนมีกิจกรรมที่หลากหลายและใกล้ชิดชุมชนมากขึ้น

กระบวนทัศน์ใหม่ในการสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนว่ามีคำตอบใดบ้าง งานนี้คงเป็นอีกคำตอบให้พวกเราได้ศึกษากันต่อไป

The_Chipakata_Children's_Academy9 The_Chipakata_Children's_Academy10 The_Chipakata_Children's_Academy11 The_Chipakata_Children's_Academy31 The_Chipakata_Children's_Academy61 The_Chipakata_Children's_Academy73 The_Chipakata_Children's_Academy81 The_Chipakata_Children's_Academy82 The_Chipakata_Children's_Academy121 The_Chipakata_Children's_Academy122proceso

corte1diagramadiagrama2esquemaesquema2

อ้างอิง: archdaily, ennead