บ้าน ‘แฟรงเกนสไตน์’ แห่งอินเดีย อีกหนึ่งแนวทางลดการใช้ทรัพยากร

1-Recovered-Recovered-Recovered-Recovered-Recoveredตามนิยายเรื่อง แฟรงเกนสไตน์ ของ แมรี เชลลีย์ (Mary Shelley) นักประพันธ์ชาวสหราชอาณาจักร แฟรงเกนสไตน์ คือชื่อของ ดร.หนุ่ม ผู้สร้าง ‘เจ้าปีศาจ’ (Monster) ขึ้นมาตนหนึ่ง โดยประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอวัยวะจากซากศพหลายๆ ร่าง และกลับฟื้นมีชีวิตขึ้นมา ต่อมาภายหลัง เรื่องราวได้ผิดเพี้ยนไป โดยผู้คนมักนำชื่อของ ดร.แฟรงเกนสไตน์ ผู้ที่สร้างเจ้าปีศาจ มาใช้เรียกเจ้าปีศาจ จนภายหลัง ผู้คนส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่า แฟรงเกนสไตน์ คือเจ้าปีศาจ ทำให้ในทุกวันนี้ ภาพลักษณ์ของ แฟรงเกนสไตน์ คือ ผีดิบซึ่งเกิดจากการนำศากศพมาประกอบเข้าด้วยกันจนเป็นร่างใหม่

การนำซากศพ มาประกอบจนกลายเป็นร่างใหม่ ในลักษณะเดียวกับ แฟรงเกนสไตน์ นั้น ยังเกิดขึ้นในงานสถาปัตยกรรมเช่นกัน ดังเช่นในผลงาน Collage House บ้านพักอาศัยในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เอกลักษณ์ที่สำคัญของบ้านหลังนี้คือ มีการนำเอาวัสดุเก่าๆ ที่ใช้งานแล้ว จากบ้านเก่าหลายๆ หลัง เช่น ประตู หน้าต่าง รวมทั้งกระเบื้อง อิฐ และเฟอร์นิเจอร์หลายชิ้น มาประกอบขึ้นจนกลายเป็นอาคารใหม่ นับว่าเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรได้ดีอีกทางหนึ่ง

ตัวบ้านมีพื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 4 ชั้น โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่นำวัสดุจากอาคารเก่ามาใช้ก็เช่น ผนังด้านหน้าของอาคาร ที่ประกอบขึ้นจากบานหน้าต่างและประตูเก่า จำนวนหลายสิบบาน นอกจากผนังภายนอกแล้ว ผนังภายในหลายส่วนก็มีการนำหน้าต่างและประตูเก่ามาใช้เช่นกัน ผสานกับการใช้เฟอร์นิเจอร์เก่า ซึ่งตัดกับบรรยากาศภายในที่ดูเรียบง่าย สไตล์โมเดิร์น นอกจากนี้ยังมีการเปิดลานโล่งหรือคอร์ตยาร์ดบริเวณกลางบ้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทและรับแสงธรรมชาติจากภายนอก ทำให้บ้านแฟรงเกนสไตน์หลังนี้ มีทั้งความขลังแบบเก่าๆ และความทันสมัยในคราเดียวกัน

2

5

8

3

4

Model

7

อ้างอิง : archdaily

บันทึก