‘ลานกีฬาพัฒน์ 2’ จากพื้นที่รกร้างสู่พื้นที่ใช้สอยของคนในชุมชน

พื้นที่รกร้างในบ้านเราที่เกิดจากการพัฒนาเมือง ก่อเกิดซอกมุมอับให้กับเมืองในหลายจุด กลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมขาดการพัฒนา มีหลายโครงการที่เข้าไปแก้ปัญหาเรื่องนี้เช่นโครงการจัดการพื้นที่ว่างใต้สะพานข้ามแยก หรือพื้นที่ใต้ทางด่วนในส่วนต่าง ๆ ของเมืองกรุงเทพฯ ด้วยการเสริมกิจกรรมให้เกิดความเคลื่อนไหวของผู้คนโดยรอบ ไม่ให้เกิดจุดอับเมืองอันอาจนำปัญหาทั้งสุขอนามัย อาชญากรรมตามมา แม้ว่าจะมีการทดลองพัฒนาในหลายโครงการของพื้นที่ใต้ทางด่วนของกรุงเทพฯ ที่พบกับความล้มเหลว อาจจะด้วยทำเลที่ตั้ง การเข้าถึงที่ยากเกินไป แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจสำหรับใช้ในโครงการเหล่านี้คือ การสร้างความมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชนที่คาดว่าจะเข้ามาใช้งาน

เช่นโครงการลานกีฬาพัฒน์ 2 ได้นำพื้นที่ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ ถนนพระรามที่ 6 ซึ่งมีการเสนอการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้อย่างน่าสนใจ จากการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมโดย บริษัท ฉมา โซเอ็น จํากัด และออกแบบสถาปัตยกรรมโดยสถาบันอาศรมศิลป์ นักออกแบบของโครงการได้เริ่มจากการรับโครงการจากสํานักราชเลขาธิการการ พร้อมการสนับสนุนโครงการจากทาง สสส หรือ สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อนำพื้นที่รกร้างข้างซอยพญานาคซึ่งแต่เดิมเป็นแหล่งรวมขยะ สุนัขจรจัด มาพัฒนาด้วยแนวคิด ‘ลานบ้าน ลานดิน’ เติมกิจกรรมอเนกประสงค์หลายชนิดให้กับชุมชน ทั้ง ลานกีฬา ตลาด พื้นที่ศิลปะวัฒนธรรม และสวนสาธารณะชุมชน

แนวคิดให้ผู้คนในชุมชนใกล้เคียงมีส่วนร่วมกับโครงการ เริ่มจากการสร้างความต้องการพื้นที่ใช้สอยจากการลงพื้นที่กับชุมชน ให้ชุมชนสร้างความหวงแหน สร้างความเป็นเจ้าของกับชุมชน ด้วยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการให้ความรู้ชาวชุมชนเพื่อทำความเข้าใจกับโครงการที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับนำผลไปสร้างความต้องการใช้สอยพื้นที่รองรับกิจกรรมต่างๆ ครั้งที่ 2 เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากชาวชุมชน พร้อมกับให้ชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการลานนี้หลังจากเกิดการใช้งาน

สถาปัตยกรรมที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่ควรเป็นสถาปัตยกรรมที่ทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่ รับใช้จุดประสงค์กับการลงทุนลงแรงร่วมใจ มากกว่าตอบสนองความต้องการของนักออกแบบหรือผู้ลงทุนไม่ใช่หรือ?

 

 

re01re00

re03 re02  Model re-Kid's day (21) re-Kid's day (41) re-Kid's day (44) re-Kid's day (45) re-Kid's day (136) re-Kid's day (149) re-Kid's day (156)

อ้างอิง: shma designs, Facebook: shma.so.en, Arsom Silp

บันทึก