ศูนย์เฝ้าระวังสึนามิพร้อมรับภัยภิบัติ ฝ่าเกลียวคลื่นด้วยเกลียวโค้ง

ประสบการณ์เกี่ยวกับ ‘สึนามิ’ อาจเป็นเรื่องที่ยังใหม่สำหรับบ้านเราประเทศไทย แต่สำหรับญี่ปุ่น หนึ่งในประเทศที่โดนคลื่ยักษ์ซัดเข้าฝั่งตั้งแต่โบราณกาล จนมีการพัฒนาและปรับตัวให้รับมือกับภัยธรรมชาติชนิดนี้ เรียกได้ว่าดีกว่าหลายๆ ประเทศในโลกอย่างแน่นอน

Looptecture F คืออาคารขนาดสองชั้นที่ใช้สำหรับเรียนรู้ เฝ้าระวัง และเป็นที่หลบภัยชั่วคราวจากคลื่นสึนามิที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นพื้นของอาคารจะถูกยกระดับเพื่อความปลอดภัย โดยมี space ภายในที่เกิดจากเส้นโค้งของ facade ที่คล้ายกับแถบริบบิ้นที่ม้วนขมวดเข้าหากันตรงกลาง ทำให้เกิดรูปร่างคล้ายทรงกระบอกซ้อนกัน เป็นจุดเด่นของอาคารที่จะคอยกระจายแรงจากคลื่นยักษ์ให้ออกไปทางด้านข้าง ลดทอนกำลังไม่ให้อาคารได้รับความเสียหาย รูปร่างโค้งของอาคารทั้งหมดทำจากแผ่นเหล็กเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เป็นท่าเรือของเมือง การเจาะช่องหน้าต่างเป็นวงกลมยังช่วยจำกัดการใช้พื้นผิวของอาคารให้น้อยที่สุด และสามารถมองเห็นประตูระบายน้ำจุดต่างๆ ผ่านทางหน้าต่าง นอกจากนี้ยังมี Green roof พื้นที่สีเขียวด้านบนสำหรับเป็นชานพักอีกด้วย

ศูนย์ควบคุมภัยพิบัติสึนามิของเมือง Minamiawaja หรือ Looptecture F เป็นหนึ่งในผลงานการออกแบบของ Endo Shuhei Architect Institute ที่ตอบรับความพร้อมและการพัฒนาทางด้านสถาปัตยกรรมในการรับมือสึนามิของประเทศญี่ปุ่น


 

อ้างอิง: designboominhabitat