‘บ้านดินหลุยส์’ ปั้นดินเพื่อปลูกบ้านแบบยั่งยืน+ดั้งเดิมในนครราชสีมา

ในปัจจุบันการอยู่อาศัยล้วนพึ่งพิงระบบอุตสาหกรรมเป็นหลัก อันเป็นผลต่อเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่แล้วจากซีกโลกตะวันตก ซึ่งมีแนวคิดที่ต้องการผลิตซ้ำจำนวนมากเพื่อราคาที่ถูกให้ผู้คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้

แต่ในขณะเดียวกัน แนวคิดการอยู่อาศัยที่ตกอยู่ในระบบอุตสาหกรรมกลับเป็นดาบสองคมที่เข้ามาทำลายเอกราชทางการมีที่อยู่อาศัยของตัวเอง เช่นที่สถาปนิกสัญชาติไทยจากเมืองโคราชอย่าง TH studio ตั้งคำถามกับแนวคิดการสร้างบ้านแบบทั่วไป พวกเขาสร้างงานชิ้นนี้จากการวิจัยพื้นฐานที่สอนด้านสถาปัตย์ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน งานนี้เริ่มจากการทดลองสร้างอิฐแบบดินดิบที่เรียกว่า adobe ซึ่งเป็นดินในละแวกเมืองโคราชนั่นเอง จากนั้นจึงนำอิฐดินดิบเหล่านี้มาผสมกับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และสร้างการปิดผิวด้วยเทคนิคการฉาบ จนได้บ้านดินหลุยส์หลังขนาดย่อมสีส้มนี้ซึ่งเป็นคำตอบด้านที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืนด้วยวิธีดั้งเดิม

แม้ว่าคำตอบการสร้างบ้านดินเพื่อให้ทุกคนมีบ้านของตัวเองได้อย่างง่ายจะยังมีอุปสรรคอยู่บ้าง จากเทคนิคก่อสร้างที่ยังไม่เป็นที่นิยม แต่แนวคิดการเป็นอิสระจากระบบอุตสาหกรรมจะช่วยต่อยอดให้การพัฒนาแนวคิดในการสร้างบ้านถึงคราวที่ต้องตั้งคำถามตัวเองอีกครั้ง

 

อ้างอิง: THstudio ARCHITECT