โรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็กแนวดิ่งในพื้นที่จำกัด+ติดทะเล

1

ห้องเรียนแบบที่เราพบเห็นได้ทั่วไปคือการปิดเพื่อสร้างสภาวะให้เอื้อต่อการเกิดสมาธิที่กระดานหรือจอหน้าชั้นเรียน สาเหตุที่การออกแบบโรงเรียนยุคก่อนเน้นไปที่แนวคิดปิดมากกว่าเปิดเนื่องจากคนรุ่นก่อนเป็นแบบมีสมาธิสูง โตมาแบบการตั้งสมาธิไปสู่จอเดียว แต่กับเด็กรุ่นใหม่ที่เราจะชอบเรียกติดปากว่า Gen Z เป็นอีกรุ่นที่สังคมเรากำลังเจอและพวกเขาโตมากับการทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ในขณะเดียวกันเราได้มีแนวคิดในการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้ทันกับคนในรุ่นใหม่มากแค่ไหน

ในจังหวัดนากะซะคิ ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการตั้งคำถามเหล่านี้ผ่านการออกแบบโรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็กโอบี ด้วยฝีมือการออกแบบจากกลุ่มสถาปนิก HIBINOSEKKEI + Youji no Shiro ที่ออกแบบพื้นที่สำหรับเด็กด้วยนิยามใหม่และมีวิธีการแก้ปัญหาของพื้นที่ได้น่าสนใจ ตัวโรงเรียนนั้นตั้งอยู่ใกล้ทะเล แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัดจึงออกแบบให้พื้นที่การเรียนเป็นไปในแนวดิ่ง ด้วยอาคารสูง 12 เมตรที่แตกต่างจากโรงเรียนสำหรับเด็กที่เราคุ้นชินซึ่งมีลักษณะแผ่ราบมากกว่า แต่เมื่อต้องออกแบบให้สูงกว่าทั่วไป สถาปนิกจึงทำการเติมพื้นที่เล่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กตลอดเส้นทางการใช้งานในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบพื้นที่การปีนป่ายจากเชือกในส่วนต่างๆ ที่เด่นสุดคือพื้นที่ให้เด็กกระโดดเล่นตาข่ายเชือกด้วยการเจาะโล่งจากชั้น 2 ไปจนดาดฟ้า หรือการเติมเชือกให้ปีนได้ตามบันได้เอื้อให้เด็กเรียนรู้พื้นที่ในแนวดิ่งมากขึ้น และยังสร้างพื้นที่ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับโรงเรียนด้วยการเติมกระดานดำให้เด็กเข้าไปเล่นเข้าไปเติมเรื่องราวตามจินตนาการ เด็กสามารถวาดเขียน ลบ เติม และเล่นเพื่อเรียนรู้ และสถาปนิกเลือกใช้ประโยชน์จากที่ตั้งที่อยู่ริมทะเลให้เด็กสามารถรับรู้ธรรมชาติจากการเปิดโล่งในส่วนของพื้นที่โรงอาหารเพื่อให้เด็กได้เข้าถึงธรรมชาติ ให้ทั้งเล่นและเรียนในเวลาเดียวกันได้

หากนิยามการออกแบบคือการแก้ปัญหา งานนี้ได้บรรลุอีกหลายปัญหาของพื้นที่การเรียนแบบเดิมแล้วเช่นกัน

KHB312_d_78201-3 portada_KHB312_d_78205-5KHB312_d_11204-3 KHB312_d_61210-3 KHB312_d_63239-5KHB312_d_71214-6KHB312_d_73202-5 KHB312_d_74201-5 KHB312_d_79201-7

site_copyplan_copy plan_copy1 plan_copy2 Sec2

อ้างอิง: archdaily, Hibinosekkei, e-ensha