Paperhouses บ้านลอยน้ำ ผลิตพลังงานได้เอง อยู่ได้แม้ภัยมา

23

สถาปัตยกรรมล้วนปรับตัวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง โจทย์ในการออกแบบของเหล่าสถาปนิกคือจะสร้างอย่างไรในแต่ละเงื่อนไข หากโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศไปมากกว่านี้ก็กระทบต่องานสถาปัตยกรรมอย่างแน่นอน ประเด็นเหล่านี้ถูกคลี่คลายในโครงการ Paperhouses ที่นำเสนอ open source สำหรับนำไปใช้ฟรีเพื่อสาธารณะประโยชน์ ทำให้สถาปัตยกรรมสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ

โครงการต้นแบบบ้านลอยน้ำราคาถูกหลังนี้ออกแบบโดยสถาปนิกอังกฤษ Carl Turner Architects ด้วยโจทย์ว่าบ้านนี้สามารถรองรับทั้งพื้นที่อุทกภัย พื้นที่น้ำท่วมขัง หรือทะเล การก่อสร้างถูกออกแบบให้สามารถสร้างได้ง่ายจากผู้รับเหมารายย่อย ถอดประกอบได้ง่าย วัสดุโครงทำจากไม้ ผนังกรุด้วยยาง สามารถสร้างได้ทั้งจากระบบแมนนวล ใช้เครื่องตัด หรือเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชิ้นส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกันมีขนาดไม่ใหญ่มากเพราะต้องการให้ขนส่งได้ด้วยรถหรือเรือทำให้สามารถรองรับการอยู่อาศัยแบบฉุกเฉินได้ แต่จุดที่สำคัญคือบ้านหลังนี้ถูกออกแบบให้สามารถเลี้ยงดูตัวเองด้วยการสร้างพลังงานในตัวเองจากผนังที่เป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อน ทำให้บ้านนี้สามารถลอยตัวเหนือน้ำท่วมและอิสระจากการอยู่ได้ด้วยตัวเอง

บ้านนี้อาจจะเป็นอีกคำตอบของสถาปัตยกรรมที่จะช่วยยกระดับชีวิตของมนุษย์ได้อย่างไร ด้วยการแก้ปัญหาตามโจทย์ปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญหน้า

carl-turner-architects-floating-house-paperhouses-designboom-02 carl-turner-architects-floating-house-paperhouses-designboom-03 carl-turner-architects-floating-house-paperhouses-designboom-04 Carl-Turner-Floating-House-drawing Carl-Turner-Floating-House-side-drawing

อ้างอิง: designboom, Carl Turner Architect, PaperHouse, inhabitat