SP Nursery ออกแบบเพื่อการใช้ชีวิตของเด็กๆ แก้ปัญหารังสีนิวเคลียร์

222

แนวทางการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ของเด็ก สถาปนิกส่วนใหญ่มักนำเสนอการให้เรียนรู้ถึงการเล่นกับธรรมชาติ เพราะการเล่นในพื้นที่ธรรมชาติทำให้พวกเขาสามารถเล่นไปพร้อมกับการเรียนรู้ได้ ไม่จำเป็นต้องมานั่งเรียนแบบท่องจำจนขาดการเรียนรู้ในชีวิตจริง แต่หากมองในแง่กลับกัน เมื่อมีโจทย์ที่ต่างกันไป ถ้าพื้นที่ภายนอกไม่เหมาะสมจะให้เล่นพร้อมเรียนได้จะสามารถออกแบบอย่างไรได้บ้าง

โจทย์ที่น่าสนใจนี้เริ่มต้นจากการเกิดภัยพิบัติในปี 2554 ญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวจนสร้างผลเสียหายต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไดอิชิ ในจังหวัดฟุคุชิมะ จากความเสียหายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไดอิชิทำให้พื้นที่โดยรอบเกิดการเสียหายหนัก มีการรั่วของรังสีเหลืออยู่จนกระทั่งวันนี้ ทำให้ผู้คนในละแวกนี้ไม่สามารถมีชีวิตประจำวันตามปรกติได้ จากโจทย์นี้กลุ่มสถาปนิก HIBINOSEKKEI + Youji no Shiro จึงออกแบบสถานรับเลี้ยงเด็ก SP Nursery ให้มีพื้นที่การเล่นเหมาะกับปัญหาที่เฉพาะมากของโครงการนี้

เนื่องจากสภาพพื้นที่ภายนอกไม่เหมาะสมจะวิ่งเล่นได้ในเวลานานจากปัญหารังสี สถาปนิกได้แก้โจทย์นี้ด้วยการสร้างพื้นที่การเล่นที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับเด็กวัยนี้ขึ้นมาภายในสถานรับเลี้ยงเด็กเสียเอง ทางเดินจากที่เคยมีหน้าที่จ่ายคนจากพื้นที่ใช้สอยหนึ่งไปยังอีกพื้นที่ ได้ถูกออกแบบให้เป็นลู่วิ่งขนาดใหญ่ ให้ทางเดินมีขนาดใหญ่ยาวกว่าแบบเดิม วัสดุปูพื้นที่เลือกใช้คือไม้เพื่อรองรับการวิ่งของเด็ก และยังสร้างกิจกรรมอย่างการเล่นน้ำที่เราจะคุ้นเคยกับการที่มีสระภายนอก แต่งานนี้สร้างสระขึ้นมาภายใน พร้อมกันนี้ยังสร้างสนามทรายสำหรับส่งเสริมกิจกรรมการเล่นของเด็กขึ้นมาภายในด้วยเช่นกัน และยังแก้ปัญหาทางเดินที่ยาวด้วยการใช้ประตูแบบคละความสูงเพื่อลดความคุ้นชินที่เป็นทางเดิน ช่วยให้เหล่าเด็กลดความเครียดจากที่ต้องอยู่ภายในเป็นหลัก

หากมองงานนี้เป็นกรณีศึกษา โจทย์ที่ได้แม้จะยาก แต่เมื่อลองมองปัญหาและหาทางแก้ แม้ว่ามันจะยากก็มีทางไปได้เสมอ

KHB309_d_11203-4KHB309_d_21226-4 KHB309_d_22217-3 KHB309_d_61201-2 KHB309_d_61205-2 KHB309_d_61207-2 KHB309_d_65205-2 KHB309_d_81203-5 portada_KHB309_d_63203-3

Det Deta Plan Site

อ้างอิง: archdaily, hibinosekkei, e-ensha