ยิ่งอยู่ในภาวะกดดันมากเท่าไหร่คนเราก็ยิ่งต้องการหาทางระเบิดออกมากเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าต้องอยู่ถูกจำกัดเสรีภาพภายในเรือนจำ บรรดานักโทษทั้งหลายต่างมีสภาพจิตที่ย่ำแย่ เพราะความวิตกในอนาคต เป้าหมายในชีวิต แต่ในทางตรงข้ามมันกลับเป็นต้นทุนที่น่าสนใจสำหรับการสร้างงานศิลปะ และไม่แปลกใจที่จะมีคนเห็นคุณค่าของต้นทุนเหล่านั้น นี่คือโปรเจ็กต์ ‘Acts of Art’ ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน
Jennie Paul และ Buzz Alexander สองอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เดินทางไปตามเรือนจำต่างๆ 30 แห่งทั่วมลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จัดการทำเวิร์คช็อปทั้งด้านจิตกรรมและการแสดง พร้อมกับคัดเลือกผลงานศิลปะที่น่าสนใจนำมาเสนอในงานนิทรรศการศิลปะจากเรือนจำเป้นประจำทุกปี และทำมาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในปีที่ผ่านมาถือเป็นการจัดงานครบรอบครั้งที่ 20 ของการจัดแสดงนิทรรศการนี้ ผลสำเร็จของโปรเจ็กต์นี้ไม่เพียงช่วยให้ศิลปินในที่คุมขังได้แสดงความรู้สึกส่วนลึกของเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้ความรู้ยกระดับจิตใจของผู้ชมและชาวเมืองไปด้วย
จากปีแรก 1996 ที่มีผู้เข้าชมงานเพียง 400 กว่าคน มาปีล่าสุดกลายเป็น 4,000 คน ผู้คนสนใจจะมีส่วนร่วมสัมผัสผลงานของศิลปินในเรือนจำเหล่านั้นมากขึ้น หลายคนปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม พวกเขายอมรับว่าศิลปะมีส่วนช่วยพัฒนาจิตใจตัวเองได้จริง ไม่แปลกนักที่จะเป็นเช่นนั้นเพราะผลงานถูกกลั่นออกมาจากหัวใจที่อยากจะพูดในสิ่งที่ตัวเองรู้สึก นอกจากจะเข้าใจตัวเองแล้วยังช่วยให้พวกเขามองเห็นคุณค่าของเพื่อนคนอื่นๆในด้านลึกผ่านงานสร้างสรรค์เหล่านั้นอีกด้วย จนผู้จัดต้องพูดว่าดินแดนแห่งการสร้างสรรค์นี้ช่างสวยงามและสมบูรณ์จริงๆ
[vimeo url=”http://vimeo.com/14973730″ width=”600″ height=”350″]
อ้างอิง : stamps.umich.edu , michigantoday.umich.edu