‘เกิดแผ่นดินไหวที่ Christchurch เมื่อกุมภาพันธ์ ปี’54 นับเป็นภัยพิบัติซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงให้กับนครใหญ่สุดอันดับสองของนิวซีแลนด์ เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งเลวร้ายที่สุดชาติ หลังจากนั้นเมืองที่เคยมีชีวิตก็เงียบสนิทเพราะความเศร้าโศก หวาดกลัว แม้จะเป็นเรื่องยากจะยอมรับที่หลายชีวิตต้องจากไป อาคารบ้านเรือนพังทลาย แต่ชีวิตคนย่อมต้องเดินหน้าต่อไป มัวเศร้าซึมกันก็คงไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น โครงการ Dance–O-Mat จึงถูกคิดขึ้นเพื่อปลุกชาวเมืองให้กลับมามีใช้ชีวิตอย่างปกติ ลืมเรื่องเลวร้ายนั้นโดยเร็ว
Gap Filler คือกลุ่มคนสร้างสรรค์ที่มีแนวคิดฟื้นฟูบรรยากาศเมืองด้วยวิธีการต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่นการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาแปลงเป็นเครื่องมือในการนำเสนองานอย่างงาน Dance-O-Mat นี้ พวกเขาจัดพื้นที่พอประมาณให้เป็นฟลอร์เต้นรำบวกกับลำโพงสี่ตัว และเครื่องซักผ้าที่ดัดแปลงให้คล้ายตู้เพลงซึ่งชาวเมืองสามารถนำเครื่องเล่น iPod หรือมือถือเชื่อมต่อเลือกเพลงที่ชื่นชอบ เพียงหยอดเงินลงไป 2 เหรียญ บรรยากาศที่ชวนสนุกก็เริ่มขึ้น สามสิบนาทีต่อครั้ง ดูมันช่างเรียบง่าย ไม่เพียงแค่การเต้นรำในท่วงทำนองโปรดของแต่ละคน การออกแบบก็เป็นอะไรที่ง่ายๆ ด้วยธงสีและการประดับไฟ
ไอเดียสนุกนี้เป็นการตรวจสอบปฏิกิริยาของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทันที บางคนอาจเรียกว่าเป็นการออกแบบพฤติกรรมผู้คน หรือในมุมมองทางศิลปะการจัดวาง อินสตอลเลชั่น ศิลปินได้ช่วยเขย่าเมืองให้ตื่นจากความเซื่องซึมและกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
[vimeo url=”http://vimeo.com/66692846″ width=”600″ height=”350″]
อ้างอิง: Pop Up City, Gap Filler