ปฏิวัตย่านธุรกิจ OMY กลางกรุงโตเกียวให้เป็นพื้นที่ไลฟ์สไตล์หลากหลาย

Untitled-1-Recovered-Recovered

การขยายตัวอย่างรวดเร็วในบริเวณย่านใจกลางเมือง ส่งผลให้เกิดอาคารพาณิชย์ สำนักงานแนวตั้ง พร้อมที่พักอาศัยที่เบียดเสียดยัดเยียดบนพื้นที่จำกัด จากราคาที่ดิน ค่าเช่า ค่าห้องพักที่เคยสูงอยู่แล้วก็ถูกถีบตัวให้สูงชันขึ้นอีก จนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า การเติบโตของอาคารสำนักงาน พื้นที่พาณิชย์ หรือย่านที่อยู่อาศัย ที่ขาดการวางแผนอาจส่งผลลบให้กับการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในทางอ้อมได้หรือไม่ ถ้าการเติบโตเหล่านั้นวิ่งเร็วกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่

เช่นเดียวกัยย่าน Otemachi – Marunouchi – Yurakucho (OMY) พื้นที่โดยรอบสถานีโตเกียว ย่านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ในช่วงปี ค.ศ. 1985–1991 ย่าน OMY เผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ ส่งผลให้พื้นที่ที่เคยเป็นไข่แดงย่านเศรษฐกิจขาดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยเหตุนี้บริษัท Mitsubishi Real Estate เจ้าของพื้นที่รายใหญ่ได้ร่วมมือกับทางภาครัฐและภาคเอกชนร่วมวางแผนจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการย่าน OMY เพื่อวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนควบคุมการออกแบบและการก่อสร้างอาคารใหม่ภายในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนรวมในบริเวณพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง พร้อมผลักดันผลักดันให้พื้นที่แห่งนี้เปลี่ยนจากศูนย์กลางย่านธุรกิจ (Central Business District, CBD) เป็นย่านที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุน (Amenities Business Core, ABC) มีผนวกไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นย่าน ABLE City (Amenity Business Life Environment) ส่งผลให้เกิดการสร้างโครงข่ายทางเดินเท้าภายในพื้นที่ใหม่ เกิดเส้นทางจักรยาน พร้อมพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในย่าน OMY ให้มีความหลากหลายมากขึ้น (Mixed Use) เกิดการลงทุนพัฒนาพื้นที่อาคารพาณิชย์และสำนักงานขนาดใหญ่โดยภาคเอกชนถึง 20 โครงการ ปัจจุบันย่าน OMY เป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัทเอกชนชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกิดย่านอาคารพาณิชยกรรมที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยภายในพื้นที่เป็นจำนวนมาก กลายเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ และกลายเป็นศูนย์กลางย่านธุรกิจที่มีเสน่ห์แห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

อีกหนึ่งแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ย่านธุรกิจที่ให้ความสำคัญของการใช้พื้นที่ส่วนรวมไม่ด้อยไปกว่าพื้นที่สำนักงานเลย ทำให้ผมนึกถึงย่านธุรกิจที่สำคัญของเราอย่างถนนสีลม ถนนสุขุมวิท ถนนสาทร พร้อมคำถามที่ว่า เรามีการวางแผนจัดการบริหารพื้นที่เหล่านี้เพื่อดึงดูดนักลงทุนโดยให้ความสำคัญกับการใช้พื้นที่ส่วนรวมมากน้อยแค่ไหน หรือจบท้ายเพียงแค่อาคารสูงเสียดฟ้าที่เบียดตัวกันแบบไร้คุณภาพ (เอาแค่ทางเดินเท้าก็สอบตกกันแล้ว)

OMY-1

OMY-2 OMY-5 OMY-3 OMY-4 OMY-7 OMY-6

อ้างอิง: MetroPolitiques.eu, Aurora.dti.ne.jp, t-i-forumOtemachi-Marunouchi-YurakuchoWikiwand/Ōtemachi, Tokyobling.wordpress.com/tag/丸の内/page/4/Commons.wikimedia/Tokyo station