‘ถนนดูดน้ำ’ จะตกหนัก พายุเข้า ก็ ‘เอาอยู่’

PICP-Aแม้ว่าฤดูฝนปีนี้จะไม่ตกถี่ๆ ซ้ำๆ ย้ำๆ ให้ช้ำชอกใจ แต่พอฝนห่าใหญ่มาทีไร สภาพถนนสายหลัก สายรอง เรื่อยไปจนถึงตรอกซอกซอยบางแห่งก็มีน้ำท่วมถึงเผื่อแผ่ให้กันแบบไม่น้อยหน้าใคร แม้ว่าภาครัฐพยายามสร้างระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ แต่ดูเหมือนไม่เพียงพอสักครั้งเมื่อพายุลูกใหญ่ซัดเข้าเมืองกรุง สภาพรถติด น้ำท่วมสูงตามแยกใจกลางเมืองช่วงฝนตกหนักจึงกลายเป็นอีกหนึ่งภาพคุ้นตา

อีกหนึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหา นอกเหนือไปจากการปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงแล้ว การพัฒนาพื้นผิวถนนก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เราสามารถทำได้ วันนี้ทีมงาน CreativeMOVE พบกับ 2 แนวคิดที่ใช้พื้นผิวถนนเป็นพื้นที่ระบายน้ำ ชิ้นแรกกับ Topmix Permeable พัฒนาโดย Lafarge Tarmac Limited กับแนวคิดในการพัฒนาระบบระบายน้ำบนผิวถนนคอนกรีต (Sustainable Urban Drainage Systems : SuDS) โครงสร้างของ Topmix Permeable เป็นคอนกรีตที่เกาะตัวแบบมีช่องว่างเพื่อให้น้ำซึมผ่านไหลลงไปยังพื้นผิวถนนชั้นล่างที่ติดตั้งระบบระบายน้ำไว้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำแทนการพึ่งพาท่อระบายน้ำที่อยู่ด้านข้างถนนเพียงอย่างเดียว ชิ้นที่สองกับ Permeable Interlocking Concrete Pavements พัฒนาโดย Interlocking Concrete Pavement Institute : ICPI) กับโครงสร้างที่ดูคล้ายกับคอนกรีตตัวหนอนที่เราพบเห็นตามทางเดินเท้า ความพิเศษอยู่ที่การเตรียมพื้นผิวบริเวณด้านล่างถึง 3 ชั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซึมซับน้ำ ส่วนด้านบนสุดเป็นคอนกรีตตัวหนอนที่ถูกออกแบบให้มีช่องระบายน้ำระหว่างก้อนคอนกรีตตัวหนอนแต่ละตัว ทั้งสองแนวคิดถูกออกแบบเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนที่มีมาก เพิ่มขีดความสามารถในการระบายน้ำให้กับพื้นผิวถนน เหมาะสำหรับใช้ทำผิวจราจร ลานจอดรถ สนามกีฬา หรือถนนหนทางภายในหมู่บ้าน

สองแนวคิดสร้างสรรค์ที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยการพัฒนาระบบระบายน้ำผ่านพื้นผิวถนน แต่ไม่ว่าระบบจะดีอย่างไร ถ้าเรายังขาดจิตสำนึกในการรักษาถนนและคูคลองร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ขายที่มักง่ายทิ้งน้ำแกงเศษอาหารลงท่อระบายน้ำ เราซึ่งเป็นผู้ร่วมใช้ถนนยังคงทิ้งขยะตามทางเดิน หรือคนริมน้ำที่ทิ้งขยะลงแม่น้ำแทนการทิ้งลงในถังขยะ ต่อให้ระบบถูกออกแบบให้ดีแสนดีแค่ไหน ก็คงไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมร่วมกันได้

[youtube url=”http://www.youtube.com/watch?v=o5tUbQG59ak” width=”600″ height=”350″]

 

PICP-5 PICP-2 PICP-1 PICP-3 PICP-4 PICP-0

 

 

[youtube url=”http://www.youtube.com/watch?v=jKH4f6JmdO4″ width=”600″ height=”350″]

 

PICP-8 PICP-9 PICP-6 PICP-7

อ้างอิง : Tarmac, NCSU