เวลาที่เราเกิดบาดแผลตามร่างกาย เราก็มักจะปิดแผลไว้ด้วยพลาสเตอร์ปิดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ หรือสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็ใช่ว่าพลาสเตอร์จะป้องกันการติดเชื้อได้เสมอไป เพราะบางครั้งมันก็สามารถทำให้อาการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณได้เช่นกัน
นักวิจัยในอังกฤษนำโดยศาสตราจารย์ Toby Jenkins จากคณะเคมีชีวภาพ University of Bath ในอังกฤษ จึงคิดค้นพลาสเตอร์ปิดแผลแบบใหม่สุดไฮเทคที่สามารถเรืองแสงได้ เมื่อมันตรวจพบว่าแผลกำลังติดเชื้อแบคทีเรีย ภายในพลาสเตอร์จะมีแคปซูลขนาดจิ๋วที่มีลักษณะคล้ายเจลและไวต่อสารพิษ ซึ่งเมื่อมันตรวจพบสารพิษที่แบคทีเรียปล่อยออกมา พลาสเตอร์ก็จะเรืองแสงขึ้นมาทันที เพื่อเตือนให้ทั้งผู้ป่วยและแพทย์ทราบว่าแผลเริ่มติดเชื้อแบคทีเรียในระยะเบื้องต้นและหาวิธีป้องกันได้อย่างทันท่วงที บวกกับในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากแผลผ่าตัดหรือแผลไฟไหม้แล้วเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก พลาสเตอร์นี้จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่โดนไฟคลอกหรือโดยไฟลวกได้ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นซึ่งนำไปสู่ปัญหาการดื้อยาอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม พลาสเตอร์นี้ยังคงอยู่ระหว่างการทดลอง และยังไม่มีการทดสอบกับมนุษย์แต่อย่างใด คาดว่าจะสามารถนำมาใช้งานจริงๆ ได้ในปี 2018 ซึ่งถ้าพัฒนาได้สำเร็จ มันจะเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญและเป็นที่แพร่หลายในวงการแพทย์ในอนาคตเลยทีเดียว
อ้างอิง: Fast Co Design