เป็นที่ยอมรับกันดีว่าจิตใจและร่างกายนั้นเสมือนสิ่งเดียวกัน อารมณ์ของผู้ป่วยจึงเป็นปัจจัยหลักในการรักษาฟื้นฟู ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ซึมเศร้า เหงา กลัว ล้วนมีผลอย่างชัดเจนต่อระบบภายในร่างกาย เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด และระดับออกซิเจนในเลือด ที่อาจทำให้ไม่พร้อมต่อการรักษาขั้นต่อไป
Huggable หุ่นยนต์ตุ๊กตาหมีที่เริ่มนำมาใช้ในโรงพยาบาลสำหรับแผนกคนไข้เด็ก เพื่อบรรเทาสภาพจิตใจที่อาจะเกิดจากความเหงาหรือความกลัวของเด็กๆ ที่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวด โดดเดี่ยว หรือรอการผ่าตัดครั้งใหญ่ในโรงพยาบาล ลูกหมี Huggable เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยหุ่นยนต์เพื่อสังคมของโรงพยาบาล Boston Children Hospital เริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่ปี 2005 โดยทีม MIT Media Lab
ปัจจุบันปีล่าสุด 2014 ลูกหมี Huggable ได้มีการปรับปรุงให้ใช้งานง่าย และ คล่องตัวขึ้น โดยการทำงานผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ ใช้ได้กับสมาร์ทโฟน ที่ใส่ไว้ที่ช่วงหัวของตุ๊กตา และแสดงสายตาได้หลายอารมณ์ผ่านทางหน้าจอมือถือ ทั้งยังสามารถรับรู้ความรู้สึกจากคนไข้ ผ่านช่วงลำตัวที่มีการฝังเซนเซอร์ หากมีการบีบกดในน้ำหนักที่ต่างกัน ใช้ในการตีความอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กๆที่อาจสื่อสารทางคำพูดได้ไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ มากไปกว่านั้น ลูกหมี Huggable ยังสามารถเล่นมุกตลก เล่นเกมส์ หรือสื่อสารแบบฉับพลันได้กับคนไข้ เพราะใช้ระบบการสื่อสารทางไกลที่ควบคุมโดยกล้องและลำโพงจาก Smart Phone ได้อีกด้วย จากการเริ่มทดลองใช้ในระยะที่ผ่านมา ผลลัพท์ค่อนข้างดีอย่างชัดเจน ทางโรงพยาบาลจึงมีการนำมาใช้และ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีเพื่อสังคม ที่ใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสานต่อความรู้สึกละเอียดอ่อนของมนุษย์และเติมเต็มช่องว่างทางสังคมได้เป็นอย่างดี อนาคตของหุ่นยนต์ Huggable ไม่เพียงแต่จะเป็นเรื่องของการแพทย์เด็กเท่านั้น แต่ยังดำเนินการต่อในเรื่องของการศึกษาและการสื่อสารทางสังคมอีกด้วย
[youtube url=”http://youtu.be/QwTCmbq9C4o” width=”600″ height=”350″]
[youtube url=”http://youtu.be/UaRCCA2rRR0″ width=”600″ height=”350″]
[youtube url=”http://youtu.be/Z-8_RhkdvoA” width=”600″ height=”350″]
Prototype แรกของหุ่นยนต์หมี Huggable ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2005
อ้างอิง : Wired Magazine, BBC News, MIT, NYTimes