ภาชนะจากเศษอาหารธรรมชาติ ใช้เสร็จแช่น้ำพร้อมเป็นปุ๋ย

Plate-A

ทุกวันนี้ โฟม กลายเป็นวัสดุแสนสะดวกราคาถูกที่ผู้ประกอบการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใส่อาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถ้วย ฯลฯ แม้ว่าเราจะมีภาชนะที่ผลิตจากใยพืชภายใต้แบรนด์ Gracz ที่คิดค้นโดย นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แต่ความนิยมในการใช้ภาชนะจากใยพืชยังมีปริมาณที่ต่ำ อาจเป็นเพราะภาชนะจากใยพืชมีราคาที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโฟม (ในความเป็นจริงมีราคาสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น) แต่หัวใจหลักของปัญหาคือประชาชนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่ร้ายแรงจากภาชนะโฟมที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นต้นเหตุของโรงมะเร็งร้ายด้วย

วันนี้ CreativeMOVE ไปพบอีกหนึ่งแนวคิดในการนำเศษอาหารมาผลิตเป็นภาชนะใส่อาหาร สร้างสรรค์โดย Michela Milani และสตูดิโอออกแบบ WhoMade จากประเทศอิตาลี ชิ้นงานถูกออกแบบให้มีรูปทรงเป็นเมล็ดพืชที่เหมาะสำหรับใส่อาหารแห้งและสื่อถึงต้นตอของเมล็ดพืชก่อนโตขึ้นเป็นต้นไม้ ชิ้นงานผ่านกระบวนการอัดแรงดันสูงขึ้นรูปเป็นภาชนะใส่อาหารโดยไม่จำเป็นต้องใช้กาวเป็นตัวประสาน ไม่ใส่สารกันบูด ไม่ต้องย้อมสีหรือใส่สารเคมีใดๆ ในการปรับสภาพ เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปละลายน้ำแล้วใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพดินให้ดีขึ้นได้ ส่วนสีที่ปรากฏบนชิ้นงานเป็นสีตามธรรมชาติของเศษอาหารนั้นๆ เช่น ถ้าเป็นแครอท ชิ้นงานจะออกสีน้ำตาลแดง ในขณะที่เปลือกถั่วลิสงจะให้สีน้ำตาลอ่อน เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่สุดคือการปลูกฝังให้ผู้ประกอบการ เจ้าของร้านค้า รวมไปถึงผู้บริโภค ให้เข้าใจผลกระทบจากขยะโฟมที่ยากต่อการทำลาย แถมมีชีวิตอยู่คู่โลกเป็นหลายร้อยปี ส่วนทางภาครัฐหรือเอกชนก็ควรออกมาตราการเพื่อบังคับให้ผู้ประกอบการหันมาเลือกใช้ภาชนะที่ผลิตจากใยพืชและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวิภาพ เช่นเดียวกับเมืองนิวยอร์กที่ออกกฏหมายห้ามให้ผู้ประกอบการใช้ภาชนะใส่อาหาร เครื่องดื่ม เช่น ถาด ถ้วย จาน ชาม กล่องใส่อาหาร ที่ทำจากโฟม (Expandable Polystyrene Foam) หรือแม้กระทั่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โฟมภายในเมือง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือต้นตอปัญหาของสิ่งแวดล้อม ใครมีข่าวคราวเคลื่อนไหวว่าองค์กรใดห้ามใช้ผลิตภัณฑ์โฟมภายในพื้นที่ อย่าลืมฝากคอมเม้นท์เพื่อให้เราชื่นชมสรรเสิรญกันนะครับ

Plate-1 Plate-3 Plate-7 Plate-5 Plate-8 Plate-2 Plate-4 Plate-6 Plate-9 Plate-10 Plate-11

อ้างอิง : whomade, treehugger, bbc