แม้ในปัจจุบันจะมีอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือคนพิการที่ทันสมัยไฮเทคอยุ่มากมายในท้องตลาด แต่ในบรรดาอุปกรณ์เหล่านั้นจะมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่ออกแบบมาเพื่อเด็กที่มีปัญหาในเรื่องแขนขาลีบเล็ก และน้อยมากสำหรับเด็กที่มีปัญหาร่างกายอ่อนแรง อีกทั้งยังมีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่เกินไปสำหรับเด็ก ซึ่งส่งผลให้เด็กๆ ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้
เช่นเดียวกับหนูน้อยวัย 2 ขวบที่มีชื่อว่า เอ็มม่า ลาแวล ผู้ซึ่งป่วยเป็นโรค AMC (Arthrogryposis Multiplex Congenital) แต่กำเนิด โดยโรคนี้จะทำให้ข้อต่อต่างๆ ในร่างกายแข็งตัวและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและใช้การไม่ได้ในที่สุด ซึ่งปัญหาหลักของเอ็มม่าอยู่ที่แขนทั้งสองข้างที่อ่อนแรงมาก จนเธอไม่สามารถยกแขนทั้งสองข้างได้เลย เธอไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน เนื่องจากเธอไม่สามารถใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงแขนได้ เพราะมันมีน้ำหนักมากเกินกว่าที่ร่างกายเธอจะรับไหว
จนในที่สุด แม่ของเธอตัดสินใจไปปรึกษากับทางโรงพยาบาล Nemours/Alfred I. duPont Hospital for Children ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ Wilmington Robotic Exoskeleton (WREX) ที่เป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงอวัยวะร่างกายของเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยจะยึดติดกับรถเข็น ผลิตจากแท่งโลหะที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันในลักษณะเหมือนบานพับ และใช้ยางอิลาสติกยึดระหว่างสิ้นส่วนต่างๆ โดยเธอขอให้ทางทีมนักวิจัยช่วยออกแบบและผลิตอุปกรณ์เฉพาะสำหรับเอ็มม่า ทางทีมงานเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงร่วมกันออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ WREX ในเวอร์ชั่นใหม่ซึ่งผลิตจากพลาสติก ABS น้ำหนักเบา แข็งแรง และสร้างชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่สามารถผลิตชิ้นส่วนที่ซับซ้อนได้จากการออกแบบในคอมพิวเตอร์ จากนั้นนำชิ้นส่วนต่างๆ ที่ได้มายึดติดกับเสื้อกั๊กที่ผลิตจากพลาสสิก
จากความสำเร็จดังกล่าวที่นอกจากการทำหนูน้อยวัย 2 ขวบจะมีชีวิตที่ดีขี้นและมีความสุขในการใช้ชีวิตแล้ว ยังส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติไปใช้ในวงการอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น อาทิการพัฒนาชุด X1 robotic exoskeleton สำหรับนักบินอวกาศของ NASA หรือการนำไปผลิตชุดเกราะป้องกับรังสีในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
อ้างอิง : SmartPlanet