‘Warka Water’ ดูดน้ำจากอากาศสู่ชุมชนแห้งแล้งในเอธิโอเปีย

Untitled-1-Recovered-Recovered-Recovered

แม้โลกใบนี้จะมีผืนน้ำอยู่เป็นสัดส่วนที่มากกว่าผืนดินอยู่บ้าง แต่มิใช่ว่าทุกทวีปที่มีผู้คนอาศัยอยู่จะมีน้ำดื่มสะอาดไว้คอยบริโภค โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาที่เรามักจะได้ยินข่าวบ่อยๆ ว่าเป็นทวีปที่ขาดแคลนทั้งน้ำสะอาดและอาหารก็ตาม จนมีหลายองค์กรด้านช่วยเหลือสังคมมักจะยื่นมือเข้าไปทำกิจกรรมเพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่เสมอ

Architecture and Vision บริษัทออกแบบจากอิตาลี ก็เป็นหนึ่งในองค์กรเอกชนที่เข้าไปช่วยเหลือเรื่องน้ำสะอาดในประเทศเอธิโอเปีย ทวีปแอฟริกา หากแต่พวกเขาใช้องค์ความรู้ด้านการออกแบบเป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน พวกเขาได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า Warka Water หรือหอคอยกักเก็บน้ำ โดยสาเหตุที่ชื่อนี้เพราะ Warka เป็นต้นไม้ท้องถิ่นที่นิยมปลูกในเอธิโอเปียนั่นเอง

รูปร่างหน้าตาของ Warka Water มีลักษณะคล้ายแจกัน ใช้หลักการทำงานง่ายๆ โดยจะคอยเก็บไอน้ำที่ลอยตัวอยู่ในอากาศให้เข้ามาอยู่ในนี้ เพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำที่ใช้บริโภคได้ หอคอยทรงแจกันมีความสูง 30 ฟุต น้ำหนัก 88 ปอนด์โครงสร้างภายนอกทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นอย่างไม้ไผ่ นำมาขึ้นโครงต่อๆ กัน ส่วนภายในทำจากพลาสติกได้แก่ ไนลอนและพอลิโพรไพลีน มีลักษณะเป็นตาข่ายทำหน้าที่ดักเก็บน้ำที่ไหลลงมาติด โดยสุดท้ายแล้วก็จะค่อยๆ ไหลลงไปที่ฐานล่างสุดซึ่งเป็นที่เก็บน้ำเอาไว้ใช้ต่อไป

Warka Water สามารถเก็บน้ำได้อย่างน้อยวันละ 25 แกลอน ใช้เวลาในการสร้างแค่ 1 สัปดาห์หรือเร็วกว่านั้น แถมต้นทุนถูกเพราะใช้วัสดุในท้องถิ่น สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย เข้าถึงแหล่งชุมชนที่ขาดแคลนน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

content 1

content 2

content 3

content 4

content 5

content 6

content 7

อ้างอิง : gizmag