หากไล่อ่านประวัติศาสตร์ของการค้นพบสิ่งสำคัญของโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีบ่อยครั้งที่นักประดิษฐ์หรือนักวิทยาศาตร์มักจะเจอคำตอบโดยบังเอิญ และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่โทมัส อัลวา เอดินสัน, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มาจนถึงสตีฟ จ็อบส์ แห่งศตวรรษที่ 21
Aidan Dwyer เด็กอัจฉริยะจากลองไอส์แลนด์ วัยเพียง 13 ปี กลับค้นพบสิ่งบางอย่างที่แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ไม่คาดคิด ในวันธรรมดาวันหนึ่งเด็กน้อยคนนี้ซึ่งเรียนอยู่เกรด 7 เท่านั้น ได้เดินทางทัศนศึกษาภายในป่าช่วงฤดูหนาว และสังเกตความพิเศษของแสงแดดกับต้นไม้ในความสัมพันธ์ของการกักเก็บแสงแดดของต้นไม้ จนเขากลับมาศึกษาอย่างละเอียดและใช้หลักการคำนวนร่วมกับสูตรลำดับจำนวนเต็มบวก (Fibonacci Sequence) กลายเป็นโซลาร์เซลล์รูปแบบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้ ซึ่งแตกต่างจากโซลาร์เซลล์แบบเดิมที่เราคุ้นตา Photovoltaic Panels แถมมีประสิทธิภาพมากว่าเดิมอีกด้วย
เขาบอกว่าด้วยรูปแบบของโซลาร์เซลล์ต้นไม้นี้จะสามารถกักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์และผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าแผงโซลาเซลล์แบบผิวเรียบ กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาในการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้เร็วกว่าเดิมครึ่งชั่วโมง ผลิตกระไฟฟ้าได้มากกว่าเดิม 20 -50% และกักเก็บพลังงานได้ยาวนานกว่าเดิม 50%
Aidan กำลังฉายแววความเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต ผลงานชิ้นนี้ของเขาได้รับรางวัล Young Naturalist Award ในปี 2011 จาก American Museum of Natural History และปัจจุบันผลงานก็ได้รับการจดลิขสิทธ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว น่าสนใจว่าจะต่อยอดเพื่อการพัฒนาโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้อย่างไร ส่วนเราในวัย 13 ปี คงเล่นเกมส์ ดูการ์ตูน ฯลฯ เทียบไม่ได้เลยกับหนุ่มน้อยคนนี้
อ้างอิง : inhabitat